Plastic(พลาสติก)

กันยายน 13, 2012 ไม่อนุญาตให้ใส่คอมเมนต์

พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์

ประวัติการทำพลาสติก

มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมี และทำพลาสติกขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๘ โดย จอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองผลิตวัสดุชนิดหนึ่งจากปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรตกับการบูร ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถทำเป็นแผ่นแบนบาง มีความใสคล้ายกระจกแต่ม้วนหรืองอได้ และได้เรียกชื่อตามวัตถุดิบที่ใช้ว่า “เซลลูโลสไนเทรต” ต่อมาพลาสติกชนิดนี้ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเป็นที่นิยม เรียกว่า “เซลลูลอยด์” (Celluloid) การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเชิงอุตสาหกรรมได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วทำให้มีพลาสติกชนิดอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย

อุตสาหกรรมพลาสติกโนประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในระยะแรกมีการนำเข้าพลาสติกเรซินจากต่างประเทศ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกกันประปราย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๖จึงได้มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงต้องนำเข้าเรซินจากต่างประเทศเช่นกันจนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๑๔ ประเทศไทยจึงสามารถผลิตพลาสติกเรซิน คือ พีวีซี ได้เองเป็นชนิดแรก ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตพลาสติกได้อีกหลายชนิด เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรไพลีน พอลิสไตรีน และพอลิเอสเทอร์

พลาสติกที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งออกได้ 7 ชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดจะระบุเป็นตัวเลข 1-7 ภายในเครื่องหมายลูกศรสามเหลี่ยมให้คนสามารถดูได้ เช่น หากเป็นขวดหรือน้ำดื่มก็จะอยู่ด้านล่างสุดของขวด

ชนิดที่ 1 เป็น พีอีทีอี (PETE) ชื่อเต็ม คือ polyethylene terephthalate ethylene เป็นพลาสติกใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด และ อาหารบางชนิด

ชนิดที่ 2 เป็น เอชดีพีอี (HDPE) ชื่อเต็มคือ high density polyethylene เป็นพลาสติกสีทึบ ใช้บรรจุนมสด น้ำดื่ม น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า แชมพู ขวดยา และถุงพลาสติก

ชนิดที่ 3 เป็นพีวีซี (PVC) เป็นชื่อย่อของ polyvinyl chloride ใช้เป็นพลาสติกสำหรับห่อหุ้ม เชือกพลาสติก เป็นขวดบรรจุชนิดบีบ มักจะใช้บรรจุน้ำมันพืช น้ำมันซักผ้า น้ำยาเช็ดกระจก ที่ใช้กันมากคือ ถุงหิ้วที่ใช้ใส่ของกันตามร้านค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ

ชนิดที่ 4 เป็นแอลดีพีอี (LDPE) ชื่อเต็มเป็น low density polyethylene ใช้เป็นถุงหิ้ว ใช้ห่อหุ้ม ขวดพลาสติกบางชนิด และที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ถุงเย็นใส่อาหาร ขนม กาแฟเย็น ชาเย็น

ชนิดที่ 5 เป็นพีพี (PP) ชื่อเต็มคือ polypropylene ใช้เป็นยางลบ ใช้ บรรจุภาชนะไซรัป
โยเกิร์ต หลอดดูด ขวดนมเด็ก ถุงร้อนใช้สำหรับบรรจุอาหารร้อน เช่น ก๋วยเตี๋ยว กาแฟร้อน เป็นถ้วยกาแฟ ชา ชนิดใช้แล้วทิ้ง

ชนิดที่ 6 เป็นพอลีสไตรีน (polystyrene) เป็นพลาสติกที่ใช้เรียกทั่วไปว่าโฟม ใช้บรรจุรองรับการกระแทกพวกอุปกรณ์ ตู้เย็น วิทยุ วิทยุ โทรทัศน์ฯลฯ ในกล่องกระดาษอีกที ใช้ทำกล่องสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่า ข้าวกล่อง ที่ใส่ไข่ ถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง ช้อน ส้อม มีดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง

ชนิดที่ 7 เป็นชนิดอื่นๆ เช่น พอลีคาร์บอนเนต (polycarbonate) ทำเป็นขวดน้ำ เหยือกน้ำ ขวดนม ขวดน้ำบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ใช้บุกระป๋องโลหะสำหรับใส่อาหาร เป็นถ้วยใส ช้อนส้อม มีดชนิดใส

หมวดหมู่:POLYMER

Polymer (พอลิเมอร์)

กันยายน 13, 2012 ไม่อนุญาตให้ใส่คอมเมนต์

พอลิเมอร์ (อังกฤษ: polymer) ความหมายของพอลิเมอร์นั้นก็มาจากรากศัพท์กรีกสำคัญ 2 คำ คือ Poly (จำนวนมาก) และ Meros (ส่วน หรือ หน่วย) พอลิเมอร์เป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) พอลิเมอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยซ้ำกัน (repeating unit) ของมอนอเมอร์ (Monomer) หลายๆหน่วยมาทำปฏิกิริยากัน มอนอเมอร์นี้จัดเป็นสารไมโครโมเลกุล (Micromolecule) ชนิดหนึ่ง พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นโฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) แต่ถ้ามีมอนอเมอร์ต่างกันตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป จัดเป็นโคพอลิเมอร์ (Copolymer) สารบางอย่างที่มีสมบัติอย่างพอลิเมอร์ เช่น สารพวกไขมันที่มีแต่ละหน่วยที่ไม่ซ้ำกันนั้นจะเป็นเพียงแค่สารแมคโครโมเลกุลเท่านั้น ไม่จัดเป็นพอลิเมอร์

พอลิเมอร์มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer) ตัวอย่างของ โพลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ ส่วนพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดนี้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เราต้องใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ และพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติต่างกัน จึงนำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกันได้
พอลิเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือพลาสติก ซึ่งเป็นคำที่ใช้อ้างถึงกลุ่มของวัสดุธรรมชาติและสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกัน พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นชแล็กและอำพันที่ใช้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิกที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ พอลิเมอร์ธรรมชาติอื่นๆ เช่นเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดาษและไม้ พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บาเกไลต์, นีโอพรีน, ไนลอน, พีวีซี, พอลิสไตรีน, พอลิอคริโลไนไตรล์ และพีวีบี การศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้แก่ เคมีพอลิเมอร์, ฟิสิกส์พอลิเมอร์และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
พอลิเมอร์สังเคราะห์ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด พอลิเมอร์มีการใช้ในการยึดเกาะและการหล่อลื่นอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการใช้เป็นโครงสร้างตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงยานอวกาศ มีการใช้เป็นยาทางชีวภาพในฐานะเป็นตัวขนส่งยาในสิ่งมีชีวิต พอลิเมอร์เช่น พอลิ เมทิล เมทาคริเลต ที่ใช้ในกระบวนการโฟโตเรซิสในอุตสาหกรรมกึ่งตัวนำ และสารไดอิเล็กทริกโปแทสเซียมต่ำสำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ปัจจุบันยังมีการพัฒนาพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้สำหรับอิเล็กทรอนิกส์

หมวดหมู่:POLYMER

การเกิดพอลิเมอร์

กันยายน 13, 2012 ไม่อนุญาตให้ใส่คอมเมนต์

พอลิเมอร์สังเคราะห์ เป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น โดยอาศัยกระบวนการทางเคมีต่าง ๆ ซึ่งสารที่นิยมนำมาใช้ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ คือ สารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบและการแยกแก๊สธรรมชาติ โดยสารไฮโดรคาร์บอนที่นำมาใช้จะต้องมีสมบัติเป็นสารที่ไม่อิ่มตัว คือ มีพันธะคู่ อยู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน ตัวอย่างเช่น เอทิลีน โพรพิลีน ไอโซปรีน สไตรีน และไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น
การสังเคราะห์พอลิเมอร์เกิดขึ้นได้โดยการนำสารไฮโดรคาร์บอนไปทำปฏิกิริยาเคมีในสภาวะที่เหมาะสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในตำแหน่งที่เป็นพันธะคู่จนเกิดการเชื่อมต่อกันไปเป็นโมเลกุลพอลิเมอร์ขนาดใหญ่ เรียกปฏิกิริยาที่สารเริ่มต้นที่เป็นมอนอเมอร์ขนาดใหญ่ เรียกปฏิกิริยาที่สารเริ่มต้นที่เป็นมอนอเมอร์รวมตัวกันเป็นพอลิเมอร์ว่า ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (polymerization)

ปฏิกิริยาพอเมอไรเซชันของสารสามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ แบบต่อเติม และแบบควบแน่น ดังนี้
1. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบต่อเติม (addition polymerization) เป็นปฏิกิริยาการรวมตัวกันของมอนอเมอร์ที่ไม่มีการกำจัดส่วนใดของมอนอเมอร์ออกไป การสร้างพันธะระหว่างมอนอเมอร์จะเกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนให้เป็นพันธะเดี่ยว เพื่อนำอิเล็กตรอนที่เหลือไปสร้างพันธะเดี่ยวกับโมเลกุลมอนอเมอร์อื่น ๆ เมื่อเกิดปฏิกิริยาแบบต่อเติมนี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมีเพียงพอลิเมอร์เท่านั้น พอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้ ได้แก่ พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น
2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น (condensation polymerization) เป็นปฏิกิริยารวมตัวของมอนอเมอร์ที่มีการกำจัดบางส่วนของมอนอเมอร์ออกไป โดยเมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นพอลิเมอร์ และสารอื่น ๆ ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น น้ำ แอมโมเนีย แอลกอฮอล์ เป็นต้น
พอลิเมอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่นนี้ มักจะมีโครงสร้างแป็นแบบตาข่ายหรือแบบร่างแห จึงทำให้พอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นด้วยปฏิกิริยาแบบนี้มีความแข็งมาก โค้งงอได้เล็กน้อย เปราะและหักง่าย ตัวอย่างของพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้ ได้แก่ ไนลอนและพอลิเอสเทอร์ เป็นต้น
พอลิเมอร์ส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยอาศัยมอนอเมอร์ที่เป็นสารไฮโดรคาร์บอน แต่ก็อาจมีพอลิเมอร์บางชนิดที่เกิดขึ้นจากมอนอเมอร์อื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนได้ โดยพอลิเมอร์เหล่านี้เกิดจากการนำมอนอเมอร์ที่เป็นสารไฮโดรคาร์บอนมาทำปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่น เพื่อเปลี่ยนไปเป็นมอนอเมอร์อีกชนิดหนึ่ง จากนั้นจึงนำมาทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันจนเกิดเป็นพอลิเมอร์

หมวดหมู่:POLYMER

ประวัติพอลิเมอร์

กันยายน 13, 2012 ไม่อนุญาตให้ใส่คอมเมนต์

ปี 1891 ฮิลัยลี่ เดอชาดอนเนต (Hilaire de Chardonnet) เริ่มผลิตเส้นใยเซลลูโลส (cellulose)
สำหรับผ้าไหม(silk)ได้สำเร็จ
ปี 1907 ลีโอ แบเคลแลนด์(Leo Baekeland) ประดิษฐ์พอลิเมอร์สังเคราะห์ชื่อว่า เบคิไลต์(bakelite)
ปี 1922 เฮอร์มานน์ สตอดิงเจอร์(Hermann Staudinger) เสนอเป็นครั้งแรกว่าพอลิเมอร์ประกอบด้วยโซ่ยาวของอะตอม
ที่ดึงดูดกันด้วยพันธะเคมีแบบโควาเลนต์(covalent bond) ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าพอลิเมอร์เป็นกลุ่มของโมเลกุล เล็กๆที่เรียกว่า คอลลอยด์(colloids)และดึงดูดกันด้วยที่ยังไม่ทราบ
ปี 1953 สตอดิงเจอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
(Nobel Prize in Chemistry)
ปี 1931 วอลลาซ คารอตเทอรส์ (Wallace Carothers) ประดิษฐ์ยางสังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกเรียกว่านีโอพรีน (neoprene)
ปี 1935 วอลลาซ คารอตเทอรส์ (Wallace Carothers) ประดิษฐ์ไนลอน (nylon)
ปี 1974 พอล ฟลอรี่ (Paul Flory)ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
(Nobel Prize in Chemistry) จากผลงานการพยากรณ์การจัดเรียงตัวของพอลิเมอร์ในสารละลาย
ซึ่งเรียกว่าแรนดอมคอยล์ (random coil)

หมวดหมู่:POLYMER

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic)

กันยายน 13, 2012 ไม่อนุญาตให้ใส่คอมเมนต์

พลาสติก (Plastic)เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มนุษย์คิดค้น และประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน พลาสติกจัดเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น ไนโตรเจน ฟลูออรีน คลอรีน และกำมะถัน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันพลาสติกก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อนำไปฝังดินจะย่อยสลายยาก และใช้เวลานานทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ หรือถ้านำไปเผาทำลายจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และมลสารที่ปนเปื้อนในอากาศนี้อาจเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาค้นคว้าและผลิตพลาสติกชนิดใหม่ขึ้นมาทดแทนเพื่อช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม โดยเรียกพลาสติกชนิดใหม่นี้ว่า พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic)

พลาสติกชีวภาพเป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ วัสดุธรรมชาติที่นำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพมีหลายชนิดส่วนใหญ่จะได้มาจากพืช เช่น เซลลูโลส (cellulose) คอลลาเจน (collagen) เคซีน (casein) พอลิเอสเตอร์ (polyester) แป้ง (starch) และโปรตีนจากถั่ว (soy protein) เป็นต้น ซึ่งแป้งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาผลิตพลาสติกชีวภาพมากที่สุดเพราะหาได้ง่าย มีปริมาณมากและราคาถูก เนื่องจากสามารถผลิตแป้งได้จากพืชหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง เป็นต้น สำหรับประเทศไทยพืชที่นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพ คือ ข้าวโพดและมันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีปริมาณมากและราคาถูก

พลาสติกชีวภาพเมื่อย่อยสลายหมดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตได้

ปัจจุบันมีการนำพลาสติกชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้านด้วยกัน เช่น

1. ด้านการแพทย์ โดยการนำพลาสติกชีวภาพมาผลิตเป็นวัสดุทางการแพทย์ เช่น ผิวหนังเทียม ไหมละลาย อุปกรณ์ประเภทสกรู และแผ่นดามกระดูกที่ฝังอยู่ในร่างกายที่สามารถย่อยสลายได้เอง
2. ด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภค เช่น สารเคลือบกระดาษสำหรับห่ออาหาร หรือแก้วน้ำชนิดใช้แล้วทิ้ง ถุงสำหรับใส่ของ ถ้วยหรือถาดย่อยสลายได้สำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วน ฟิล์มและถุงพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับใช้ใส่ขยะเศษอาหาร โฟมเม็ดกันกระแทก เป็นต้น
3. ด้านการเกษตร นิยมนำมาผลิตเป็นแผ่นฟิล์มสำหรับคลุมดิน และวัสดุสำหรับการเกษตร เช่น แผ่นฟิล์มป้องกันการเติบโตของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งถุงหรือกระถางสำหรับเพาะต้นกล้า

หมวดหมู่:POLYMER

ความรู้เบื้องต้นของ พลาสติกชีวภาพ Bioplastic

กันยายน 13, 2012 ไม่อนุญาตให้ใส่คอมเมนต์

พลาสติก (Plastic) หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร ปัจจุบันพลาสติกเป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายยากใช้เวลานาน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ เผาทำลายทำให้เกิดมลพิษในอากาศ

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) หมายถึงพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นพืช สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ (biodegradable) ช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม

วัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพมีหลายชนิด เช่น cellulose collagen casein polyester แป้ง (starch) โปรตีนจากถั่ว และข้าวโพด เป็นต้น และในบรรดาวัสดุธรรมชาติทั้งหลาย แป้ง นับว่าเหมาะสมที่สุดเพราะมีจำนวนมากและราคาถูก เนื่องจากสามารถหาได้จากพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง เป็นต้น

พลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากแป้งโดยตรงจะมีขีดจำกัด เพราะจะเกิดการพองตัวและเสียรูปร่างเมื่อได้รับความชื้น จึงได้มีการใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายแป้ง แล้วเปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นโมโนเมอร์ (monomer) ที่เรียกว่ากรดแลคติก (lactic acid) จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการ polymerization ทำให้กรดแลคติกเชื่อมกันเป็นสายยาวที่เรียกว่า โพลีเมอร์ (polymer)

หมวดหมู่:POLYMER